หน้าหลัก
แนะนำรายวิชา
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
บทที่ 1 ภาษาคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 แนวคิดการโปรแกรม
บทที่ 3 ผังงาน
บทที่ 4 รหัสเทียม
บทที่ 5 โครงสร้างภาษาซี
บทที่ 6 ติดตั้งโปรแกรม Dev-c++
บทที่ 7 ตัวแปรภาษาซี
บทที่ 8 ตัวดำเนินการภาษาซี
บทที่ 9 การแสดงผล
บทที่10 การรับข้อมูล
บทที่ 11 การเลือกทำตามเงื่อนไข
บทที่ 12 คำสั่งวนซ้ำ
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
แหล่งศึกษาเพิ่มเติม

 

       เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งที่คอมพิวเตอร์เข้าใจคือสัญญาณทางไฟฟ้า แต่ในการเขียนโปรแกรมเพื่อให้
คอมพิวเตอร์ทำงานนั้น มีภาษาให้เลือกหลายภาษา เราจะต้องเข้าใจว่าเหตุใดคอมพิวเตอร์ จึงสามารถประมวลผลภาษาโปรแกรมได้
และโปรแกรมที่ได้ถูกสร้างขึ้น มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการประยุกต์มาใช้งาน สำหรับโปรแกรมภาษาที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้
คือโปรแกรม Dev-C++   ซึ่งจะต้องเข้าใจขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาซีให้สามารถประมวลผลตามต้องการได้

 

       เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะต้องป้อนคำสั่งให้กับมันและต้องเป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์
เข้าใจ การนำคำสั่งมาเรียงต่อกันให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเรียกว่า โปรแกรม เมื่อโปรแกรมถูกป้อนเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ 
ตัวเครื่องจะทำงานทีละคำสั่ง
       สำหรับการใช้คำสั่งสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ ทำงานนั้น จะต้องใช้ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้
ภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจเรียกว่า ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นรหัสเลขฐานสอง เมื่อมีการป้อนภาษาเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์
รหัสเลขฐานสอง จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ถ้ามนุษย์ต้องการป้อนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์เป็นเลขฐานสอง
จะทำได้ยากมากเพราะเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจได้ยากจึงได้มีการออกแบบตัวอักษรภาษาอังกฤษให้แทนคำสั่งรหัสเลขฐานสองเหล่านั้น
ซึ่งเรียกว่า รหัสนีโมนิก (Mnemonic) ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้รหัสนีโมนิก ในการเขียนเรียกว่า ภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language)
ต่อมาได้มีการพัฒนาชุดคำสั่งภาษาต่าง ๆ ให้มีความใกล้เคียงกับภาษาที่มนุษย์เข้าใจ เรียกว่า ภาษาระดับสูง (High-Level Language)
ซึ่งมีอยู่หลายภาษาได้แก่ ภาษาเบสิก ปาสคาล ภาษาโคบอล ภาษาฟอร์แทน ภาษาซี เป็นต้น สำหรับภาษาแอสเซมบลี
เป็นภาษาที่ทำงาน ได้เร็วเพราะเข้าถึงหน่วยประมวลผลได้เร็วที่สุด เราเรียกภาษานี้ว่า ภาษาระดับต่ำ  (Low-Level Language)

                    


● ภาษาระดับต่ำ ได้แก่ ภาษาเครื่อง และภาษา Assembly
● ภาษาระดับสูง ได้แก่ ภาษาเบสิก (Basic) ปาสคาล (Pascal) ภาษาโคบอล (Cobal) ภาษาฟอร์แทน (Fortance) ภาษาซี (C) จาวา (Java) และอื่นๆ

           

            

        ความแตกต่างระหว่างภาษาระดับสูงและระดับต่ำคือ ภาษาระดับต่ำควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์
ได้ดีกว่าแต่เขียนยากและยาวมาก ส่วนภาษาระดับสูงเขียนง่ายเข้าใจง่ายกว่าเพราะใกล้เคียงภาษามนุษย์แต่มีข้อจํากัดในการควบคุมฮาร์ดแวร์