ตัวแปลภาษคอมพิวเตอร์ (Translator) |
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง แต่ละภาษาลักษณะโครงสร้างของภาษาจะแตกต่างกันออกไปซึ่งโปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้น |
เรียกว่าโปรแกรมต้นฉบับ (Source code) มนุษย์จะอ่านโปรแกรมต้นฉบับได้ แต่คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจเพราะคอมพิวเตอร์เข้าใจเฉพาะ |
ภาษาเครื่อง (Machine Language) ซึ่งเป็นรหัสเลขฐานสอง จึงต้องมีการใช้โปรแกรม ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ Translator ใช้ในการ |
แปลภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาต่าง ๆ ไปเป็นภาษาเครื่องซึ่งจะประกอบด้วยรหัสคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ |
ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้อยู่ ในปัจจุบันจะต่างกันที่ขั้นตอนที่ใช้ในการแปลภาษาให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ |
1. คอมไพล์เลอร์ compiler เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นภาษาปาสคาล ภาษาโคบอล ภาษาฟอร์แทนและภาษาซี |
คอมไพเลอร์จะเปลี่ยนโปรแกรมต้นฉบับให้เป็นภาษาเครื่องทั้งหมดและจะบันทึกไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูลหรือไฟล์ |
หากพบข้อผิดพลาดก็จะแสดงออกมาเมื่อต้องการเรียกใช้งานโปรแกรมก็จะสามารถเรียกมาใช้งานโดยไม่ต้องทำการ แปลหรือคอมไพล์ |
อีกครั้งทำให้การทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและนิยมกันมากในปัจจุบัน |
2. อินเตอร์พรีเตอร์ Interpreter |
อินเตอร์พรีเตอร์เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์จะแปลความหมายของคำสั่งทีละคำสั่งตลอดไปทั้งโปรแกรม |
ถ้าไม่พบข้อผิดพลาดเครื่องจะทำคำสั่งที่แปลได้แต่ถ้าพบข้อผิดพลาดจะหยุดทำงานและแจ้งข้อผิดพลาดออกมา |
ข้อเสียของอินเตอร์พรีเตอร์ คือ ถ้านำโปรแกรมนี้มาใช้งานอีกจะต้องทำการแปลโปรแกรมใหม่อีกครั้ง |
ตัวอย่างของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวแปลภาษาแบบ Interpreter เช่น ภาษาเบสิก |
สำหรับภาษาระดับต่าง ๆ เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถโปรแกรมติดต่อกับ คอมพิวเตอร์ได้ง่าย |
ลักษณะของภาษานี้จะเป็นการใช้ตัวอักษรมาเรียงกันเป็นคำ คือ ภาษา assembly language ซึ่งการเขียนคำสั่งในภาษาแอสเซมบลี |
จะใช้คำย่อของภาษาอังกฤษโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี จะต้องทำการแปลด้วยโปรแกรมภาษาที่เรียกว่า |
แอสเซมเบลอร์ Assembler จะทำการแปลโปรแกรมต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้ |
เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ดังนั้นผู้ที่ใช้ภาษาแอสเซมบลี ส่วนใหญ่จะเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ |