หน้าหลัก
แนะนำรายวิชา
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
บทที่ 1 ภาษาคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 แนวคิดการโปรแกรม
บทที่ 3 ผังงาน
บทที่ 4 รหัสเทียม
บทที่ 5 โครงสร้างภาษาซี
บทที่ 6 ติดตั้งโปรแกรม Dev-c++
บทที่ 7 ตัวแปรภาษาซี
บทที่ 8 ตัวดำเนินการภาษาซี
บทที่ 9 การแสดงผล
บทที่10 การรับข้อมูล
บทที่ 11 การเลือกทำตามเงื่อนไข
บทที่ 12 คำสั่งวนซ้ำ
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
แหล่งศึกษาเพิ่มเติม

 

            โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษา C ทุกโปรแกรมจะมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย 5 ส่วน หลัก ๆ ดังนี้

1. ส่วนเฮดเดอร์ไฟล์ (Header File of Processing Directive) ส่วนนี้จะมีจุดสังเกตคือ มีเครื่องหมาย # เสมอ
คอมไพล์เลอร์จะทำงานกับส่วนนี้เป็นส่วนแรก ส่วนเฮดเดอร์ไฟล์เป็นส่วนที่เก็บไลบรารีมาตรฐานของภาษา C
จะถูกดึงเข้ามารวมกับโปรแกรมในขณะที่กำลังคอมไพล์ คำสั่ง #include สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ

 

รูปแบบที่ 1

รูปแบบที่ 2

การเขียนโปรแกรมภาษา C เฮดเดอร์ไฟล์ที่เก็บไลบรารีมาตรฐานในการจัดการเกี่ยวกับอินพุตและเอาต์พุต ของโปรแกรมก็คือ Stdio.h
ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้
                         stdio.h เป็นเฮดเดอร์ที่เกี่ยวข้องกับฟังชั่นอินพุตและเอาต์พุต Input and Output) เช่น ฟังก์ชั่น printf( ) , scanf ( )
                               
                        conio.h เป็นเฮดเดอร์ที่เกี่ยวกับฟังก์ชั่น รอรับคำสั่ง เช่น getch ( )
         
2. ส่วนของตัวแปร (Global declarations statement) เป็นส่วนประกาศตัวแปรที่ใช้ร่วมกันทั้งโปรแกรม ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้
ตัวอย่าง

3. ส่วนของฟังก์ชันหลัก (Function main) ฟังก์ชันนี้เริ่มต้นการทำงานด้วยฟังก์ชัน main() 
โดยขอบเขตของฟังก์ชันจะเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย { และสิ้นสุดด้วยเครื่องหมาย } คือ การทำงานของฟังก์ชั่นจะ

เริ่มต้นที่เครื่องหมาย { และจะสิ้นสุดที่เครื่องหมาย } ฟังก์ชั่น main() สามารถเขียนในรูปแบบของ void main(void) ก็ได้

 

4. ส่วนฟังก์ชันที่กำหนดเอง (User-defined function)  เป็นส่วนประกาศตัวแปรที่สามารถใช้ได้เฉพาะภายในฟังก์ชันของตนเองเท่านั้น
โดยต้องอยู่ในเครื่องหมาย { } สามารถเรียกใช้ได้ภายในโปรแกรม แนวคิดของฟังก์ชันก็คือนำโค้ดกลับมาใช้ใหม่
โดยที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ทั้งหมด ก่อนที่เราจะใช้ฟังก์ชันมันจำเป็นต้องถูกประกาศก่อน
 
5. ส่วนของตัวโปรแกรม( Program) เป็นส่วนคำสั่งของการทำงานของโปรแกรมโดยที่คําสั่งในแต่ละคำสั่งต้องจบด้วยเครื่องหมาย ;
(เซมิโคลอน) เสมอ

การอธิบายโปรแกรม (Program Comment)
           การคอมเมนต์ (comment) เป็นหมายเหตุของโปรแกรม มีไว้เพื่อให้ผู้เขียนโปรแกรมใส่ข้อความอธิบายกำกับลงไปใน source code
ซึ่งคอมไพเลอร์จะไม่ทำการแปลผลในส่วนที่เป็นคอมเมนต์นี้
 

 คอมเมนต์ในภาษาซีมี 2 แบบคือ

  1. คอมเมนต์แบบบรรทัดเดียว ใช้เครื่องหมาย //
  2. คอมเมนต์แบบหลายบรรทัด ใช้เครื่องหมาย /* และ */