ตัวดำเนินการ (Operators) หมายถึง สัญลักษณ์ที่ตัวแปรภาษา (Complie) จะนำไปประมวลผล ตัวดำเนินการมีหน้าที่ |
รวมค่าต่างๆ และทำกับค่าต่าง ๆ ให้เป็นค่าเดียวกัน |
Arithmetic operators ( +, -, *, /, % )
ตัวดำเนินการเลขคณิตศาสตร์ ใช้สำหรับคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น +, -, x, / ให้ผลลัพธ์ทางตัวเลขทางคณิตศาสตร์
|
ตัวดำเนินการ | ชื่อ | ข้อมูลที่ถูกกระทำ | ตัวอย่าง |
+ | บวก (Addition) | จำนวนเต็ม,จำนวนจริง | sum = a + b |
- | ลบ (Subtraction) | จำนวนเต็ม,จำนวนจริง | sum = a - b |
* | คูณ (Multiplication) | จำนวนเต็ม,จำนวนจริง | sum = a x b |
/ | หาร (Real Number Division/DIV) |
จำนวนเต็ม,จำนวนจริง | sum = a / b 5/2=2 |
% | การหารแบบเอาเศษ (Modulus) |
จำนวนเต็ม | sum = a % b (หารเอาเลขเศษ) 5/2 = 1 |
ตัวอย่าง การเขียนโปรแกรมเพื่อแสดงการใช้ตัวดำเนินการเลขคณิตศาสตร์ |
บรรทัดที่ 1 | เป็นการระบุให้นำไฟล์ stdio.h มารวมกับไฟล์นี้ เพื่อที่จะสามารถใช้คำสั่งที่อยู่ในไฟล์นี้มาใช้งานได้ |
บรรทัดที่ 3 | เริ่มต้นด้วยฟังก์ชัน main () แล้วใส่เครื่องหมายกำหนดขอบเขตเริ่มต้นของตัวโปรแกรมคือ { หลังจากนั้นใส่คำสั่งหรือฟังก์ชันต่างๆโดยแต่ล่ะคำสั่งหรือฟังก์ชันนั้นๆ จะต้องปิดด้วยเครื่องหมาย ; |
บรรทัดที่ 5 | แสดงผลข้อมูลบนจอภาพ ผลรวม 21+5 |
บรรทัดที่ 6 | แสดงผลข้อมูลบนจอภาพ ผลต่าง 21-5 |
บรรทัดที่ 7 | แสดงผลข้อมูลบนจอภาพ ผลคูณ 21*5 |
บรรทัดที่ 8 | แสดงผลข้อมูลบนจอภาพ ผลหารเลขจำนวนเต็ม 21/5 |
บรรทัดที่ 9 | แสดงผลข้อมูลบนจอภาพ ผลหารเอาเลขเศษ 21/5 |
บรรทัดที่ 10 | ส่งค่ากลับ |
บรรทัดที่ 11 | จบโปรแกรม |
ในการคำนวณแต่ละครั้งอาจมีตัวดำเนินการหลายตัว ผลลัพธ์ที่ได้เกิดจากการกระทำของตัวดำเนินการแต่ละตัว โดยลำดับความสำคัญไว้ดังตาราง
ตัวดำเนินการ | การทำงาน | ลำดับการทำงาน |
( ) | การทำในวงเล็บ | การทำงานในวงเล็บมีลำดับการทำงานสูงสุด ถ้าหากมีวงเล็บซ้อนกันจะทำวงเล็บในสุดก่อน
|
* , / หรือ % | คูณ (Multiplication) หาร การหารแบบเอาเศษ |
|
+ หรือ - |
ตัวอย่างลำดับการคำนวณตัวดำเนินทางเลขคณิตศาสตร์
ลำดับการคำนวณ |
|||||
5%2
|
+
|
14/3
|
-
|
6
|
1. ---> /, % |
1 |
+ |
4 |
- |
6 |
2.---> + |
5 |
- |
6 |
3. ---> - |
||
-1 |
จากตัวอย่างเขียนโปรแกรมได้ดังนี้
บรรทัดที่ 1 | เป็นการระบุให้นำไฟล์ stdio.h มารวมกับไฟล์นี้ เพื่อที่จะสามารถใช้คำสั่งที่อยู่ในไฟล์นี้มาใช้งานได้ ต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ |
บรรทัดที่ 3 | เริ่มต้นด้วยฟังก์ชัน main () แล้วใส่เครื่องหมายกำหนดขอบเขตเริ่มต้นของตัวโปรแกรมคือ { หลังจากนั้นใส่คำสั่งหรือฟังก์ชันต่างๆโดยแต่ล่ะคำสั่งหรือฟังก์ชันนั้นๆ จะต้องปิดด้วยเครื่องหมาย ; |
บรรทัดที่ 5 | แสดงผลข้อมูลบนจอภาพ ผลการคำนวณตัวเลขทางคณิตศาสตร์ |
บรรทัดที่ 6 | จบโปรแกรม |