หน้าหลัก
แนะนำรายวิชา
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
บทที่ 1 ภาษาคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 แนวคิดการโปรแกรม
บทที่ 3 ผังงาน
บทที่ 4 รหัสเทียม
บทที่ 5 โครงสร้างภาษาซี
บทที่ 6 ติดตั้งโปรแกรม Dev-c
บทที่ 7 ตัวแปรภาษาซี
บทที่ 8 ตัวดำเนินการภาษาซี
บทที่ 9 แสดงผล/รับข้อมูล
บทที่10 ควบคุมการแสดงผล
บทที่ 11 การเลือกทำตามเงื่อนไข
บทที่ 12 คำสั่งวนซ้ำ
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
แหล่งศึกษาเพิ่มเติม

 

           ภาษา C เป็นภาษาที่มีชนิดข้อมูลให้ใช้หลากหลาย แต่ละข้อมูลจะมีขอบเขตมากน้อยแตกต่างกันออกไป
ชนิดข้อมูลที่มีขอบเขตค่าของข้อมูลกว้างมาก ๆ และเกินความจำเป็นจะใช้เนื้อที่และสิ้นเปลืองหน่วยความจำมาก
แต่หากชนิดของข้อมูลมีขนาดน้อยกว่าขอบเขตของข้อมูลที่จะใช้งานจริง ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงานได้
ชนิดของข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 แบบ ดังนี้
  1. ชนิดข้อมูลแบบจำนวนจริง (Integer type)
  2. ชนิดข้อมูลแบบตัวอักษร (Character type)
  3. ชนิดข้อมูลแบบจำนวนเลขทศนิยม (Floating point type)
  4. ชนิดข้อมูลแบบไม่มีค่า (Void)
   
1. ชนิดข้อมูลแบบจำนวนจริง (Integer type)
            Integer เป็นชนิดข้อมูลแบบจำนวนเต็ม ประกอบไปด้วยจำนวนเต็มบวก (1, 2,3,....) จำนวนเต็มลบ (-1, -2, -3,......)
และจำนวนเต็มศูนย์ (0) ซึ่งในภาษา C แบ่งจำนวนเต็มออกเป็นชนิดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละชนิดมีขนาดและขอบเขตของการใช้งาน
ที่แตกต่างกัน ภาษา C แบ่งชุดข้อมูลชนิดจำนวนจริง เป็น 3 ประเภท ได้แก่

 

ชนิดข้อมูล
ขนาด (ไบต์)
ช่วงข้อมูล
Short
2
-32,768 ถึง 32,767
0 ถึง 65,535
int
4
-2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647
0 ถึง 4,294,967,295
long
4
-2,147,483,648 ถึง 2,147,483,647
0 ถึง 4,294,967,295

 

ตัวอย่าง

short int num1;

short int num2;

int ans1;

int ans2;

long int total;

long int sum;

หรือ

short int num1, num2;

int asn1, ans2;

long int total, sum;


 

2. ชนิดข้อมูลแบบตัวอักษร (Character type)

                 ในภาษาซี Char (Character) เป็นชนิดข้อมูลตัวอักขระหนึ่งตัว มีขนาด 1 ไบต์ หรือ 8 บิต โดยจะกำหนดค่าให้อยู่ในเครื่องหมาย ' '
เป็นได้ทั้งตัวอักษร (Letter), ตัวเลข (Digital) และสัญลักษณ์พิเศษ(Special symbols) ลักษณะสำคัญของข้อมูลชนิดนี้คือ ไม่สามารถนำไป
คำนวณได้ เช่น ตัวอักษร '10' จะแตกต่างกับตัวเลข 10 ดังนั้น '10'+10 จึงไม่สามารถประมวลผลได้

 

char variable name;

 

ตัวอย่าง

char ch1;

char ch2;

char ch3 = 'B';

หรือ

char ch1, ch2;

 

3. ชนิดข้อมูลแบบจำนวนเลขทศนิยม (Floating point type)
                Floating point เป็นข้อมูลชนิดตัวเลขที่มีจุดทศนิยมซึ่งข้อมูลแต่ละประเภท จะมีขอบเขตในการใช้งานที่แตกต่างกัน
 สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

 

ชนิดข้อมูล
ขนาด (ไบต์)
ช่วงข้อมูล
Float 4(32 บิต)

3.4 x 10 ^-38 ถึง 3.4 x 10^38

double 8 (64 บิต) 1.7 x 10^-308 ถึง 1.7 x 10 ^308
log double 16 (128 บิต) 3.4 x 10 ^-4932 ถึง 1.1 x 10^4932

 

รูปแบบการประกาศตัวแปรชนิดข้อมูลแบบทศนิยม คือ

 

float                      variable name;

double                 variable name;

long double          variable name;

4. ชนิดข้อมูลแบบไม่มีค่า (Void) ข้อมูลชนิดนี้จะไม่มีค่าและจะไม่ใช้ในการกำหนดชนิดตัวแปร
แต่สามารถนำข้อมูลชนิดนี้ไปกำหนดไว้ในฟังก์ชัน ถ้าไม่ต้องการให้ฟังก์ชันมีการรับค่าใด ๆ เข้ามาหรือส่งค่าใด ๆ กลับไป