หน้าหลัก
แนะนำรายวิชา
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
บทที่ 1 ภาษาคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 แนวคิดการโปรแกรม
บทที่ 3 ผังงาน
บทที่ 4 รหัสเทียม
บทที่ 5 โครงสร้างภาษาซี
บทที่ 6 ติดตั้งโปรแกรม Dev-c
บทที่ 7 ตัวแปรภาษาซี
บทที่ 8 ตัวดำเนินการภาษาซี
บทที่ 9 การแสดงผล
บทที่10 การรับข้อมูล
บทที่ 11 การเลือกทำตามเงื่อนไข
บทที่ 12 คำสั่งวนซ้ำ
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
แหล่งศึกษาเพิ่มเติม

 

         การจัดข้อความที่จะแสดงออกมาทางหน้าจอให้ดูเป็นระเบียบสวยงาม เช่น ขึ้นบรรทัดใหม่หลังจากแสดงข้อความ หรือเว้นช่องว่างข้อความ โดยใช้อักขระควบคุมการแสดงผลร่วมกับคำสั่งแสดงผล

รหัสควบคุมรูปแบบ
ความหมาย
\n
ขึ้นบรรทัดใหม่
\t
เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 แท็บ (6 ตัวอักษร)
\r
กำหนดให้เคอร์เซอร์ไปอยู่ต้นบรรทัด
\f
เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 หน้าจอ
\b
ลบอักขระสุดท้ายออก 1 ตัว

การนำอักขระควบคุมการแสดงผลมาใช้ ต้องเขียนอักขระควบคุมการแสดงผลไว้ภายในเครื่องหมาย Double Quote (" ")

ตัวอย่าง

ผลลัพธ์

          รหัสควบคุมรูปแบบ (Format Code) ใช้สำหรับการควบคุมการแสดงผลตัวแปร หรือนิพจน์ออกจากทางหน้าจอ โดยรหัสควบคุมรูปแบบในภาษาซี มีหลายรูปแบบ ดังนี้

รหัสควบคุมรูปแบบ

การนำไปใช้งาน

%d

แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม ( int, short, unsigned short, long, unsigned long)

%u

แสดงผลตัวเลขจำนวนเต็มบวก ( unsigned short, unsigned long )

%o

แสดงผลออกมาในรูปแบบของเลขฐานแปด

%x

แสดงผลออกมาในรูปแบบของเลขฐานสิบหก

%f

แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนทศนิยม ( float, double, long double )

%e

แสดงผลตัวเลขทศนิยมออกมาในรูปแบบของ ( E หรือ e ) ยกกำลัง ( float, double, long double )

%c

แสดงผลอักขระ 1 ตัว ( char )

%s

แสดงผลข้อความ ( string หรืออักขระมากกว่า 1 ตัว)

%p

แสดงผลตัวชี้ตำแหน่ง ( pointer )


 

ตัวอย่าง

ผลลัพธ์